122/75 หมู่ 5 ต.บางกร่าง,
เมืองนนทบุรี 11000

(02) 125 2242
info@aimsuccess.co.th

ข่าวสารน่ารู้

การคำนวณเงินเดือนพนักงานรายวัน

                การจ่ายเงินสำหรับพนักงานรายวันกับรายเดือนนั้นมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างครับ เช่น พนักงานรายวันจะได้รับเงินเฉพาะวันที่ตนเองมาทำงานเท่านั้น วันหยุดหากไม่มาทำงานก็ไม่ได้รับเงินครับ  ส่วนพนักงานรายเดือนความหมายก็ตรงตามชื่อเรียกครับ คือรับเงินเป็นเดือน แม้จะมีวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์เกิดขึ้นในเดือนนั้นก็ยังได้รับเงินเดือนเหมือนเดิมครับ สำหรับบทความนี้ผมจะขอพูดถึงการคำนวณเงินเดือนสำหรับพนักงานรายวัน สามารถศึกษาได้จากตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ตัวอย่างที่ 1 เป็นการนับจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานจริงโดยไม่เก็บรายละเอียดว่าเหตุใดพนักงานจึงไม่มาทำงาน เช่น นาย ก.  ได้รับค่าแรงวันละ 300 บาท ในรอบวันที่ 1-30 พฤศจิกายน นาย ก. มาทำงานทั้งหมด 23 วัน

คำนวณโดย

ค่าแรงต่อวัน จำนวนวันทำงาน

300 x  23

นาย ก. ได้รับค่าแรง 6,900  บาท

                  ในตัวอย่างนี้จะไม่สามารถเก็บสถิติการขาดงาน ลางาน หรือมาสายไว้ประเมินผลพนักงานได้ครับ 

ตัวอย่างที่ 2 นับวันที่พนักงานจะต้องมาทำงานทั้งหมด ในกรณีนี้คือการกำหนดไว้ว่าในเดือนนั้นพนักงานจะต้องมาทำงานทั้งหมดกี่วัน  หากพนักงานไม่มาทำงานก็จะต้องแจ้งเหตุผลการไม่มาทำงานเช่น ลาป่วย ลากิจ เพื่อให้ฝ่ายบุคคลสามารถเก็บสถิติไว้ประเมินผลพนักงานได้ครับ เช่น นาย ก.  ได้รับค่าแรงวันละ 300 บาท ในรอบวันที่ 1-30 พฤศจิกายน วันที่ต้องมาทำงานทั้งหมดมี 26 วัน นาย ก.ลาป่วย 2 วัน และขาดงาน 1 วัน

 

คำนวณโดย

(ค่าแรงต่อวัน จำนวนวันทำงาน)-(ขาด+ลา)

(300 x  26)-(3 x 300)

7,800 - 900

นาย ก. จะได้รับค่าแรง 6,900  บาท

                ทั้งสองกรณีให้ผลลัพธ์ที่เท่ากันนะครับ แต่ต่างกันที่กรณีที่ 2  สามารถเก็บสถิติการลาเอาไว้เพื่อประเมินผลพนักงาน หรือนำไปใช้เพื่อตรวจสอบสิทธิการลาตามกฎหมายแรงงานได้ครับ ส่วนการนำไปใช้จริงนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทและให้สอดคล้องกับกฎหมายด้วยนะครับ