122/75 หมู่ 5 ต.บางกร่าง,
เมืองนนทบุรี 11000

(02) 125 2242
info@aimsuccess.co.th

ข่าวสารน่ารู้

พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 60 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดอัตราโทษสำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวไว้ค่อนข้างสูง ฉะนั้นนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่จะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามข้อกำหนดว่าด้วยข้อตกลง MOU โดยประกอบด้วยแรงงานจากประเทศ พม่า ลาว และกัมพูชา แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ประเภทคือ

1.มีบัตรชมพู โดยบัตรชมพูออกให้ตั้งแต่ปี 57 เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายขึ้นทะเบียนเข้าสู่ระบบของกรมแรงงานอย่างถูกต้อง มีอายุ 2 ปี และเปิดให้ต่ออายุแล้วในปี 59 ทุกใบจะหมดอายุ 31 มี.ค. 61ในระหว่างนี้นายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตเข้ามาทำงานตามข้อตกลง MOU ให้เรียบร้อย

ข้อควรระวังของบัตรชมพูคือ เนื่องจากบัตรชมพูมีการระบุสถานที่ทำงานไว้อย่างชัดเจน หากมีการย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานจะต้องแจ้งกรมการจัดหางานเพื่อออกหนังสือรับรองการย้ายสถานที่ทำงานด้วย

2.แรงงานที่มี Passport ประทับตราวีซ่าแรงงานในหนังสือเดินทางและใบอนุญาตการทำงานของแรงงาน พม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ได้ 4 ปี โดยแรงงานประเภทนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตรงตามข้อตกลง MOU

สำหรับการขอโควตาแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ถูกต้องตามข้อตกลง MOU ประกอบด้วยขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

1.นายจ้างยื่นคำร้องที่แรงงานจังหวัด ว่าต้องการโควตาแรงงานต่างด้าวจำนวนกี่คน

2.นำใบโควตาที่ได้ยื่นกับ กรมแรงงานกรุงเทพฯ

3.กรมแรงงานทำเรื่องแจ้งไปที่ สถานทูตประเทศนั้นๆ

4.สถานทูตจะจัดหาแรงงานผ่าน เอเจนซี่ภายในประเทศ

5.เอเจนซี่ส่งรายชื่อมายังนายจ้าง นายจ้างจะต้องขอใบอนุญาตที่กรมแรงงานอีกครั้ง

6.เมื่อกรมแรงงานอนุมัติแล้วจะส่งรายชื่อแรงงานที่เอเจนซี่จัดหาให้ไปยังสถานทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ เพื่อให้ออก วีซ่าการทำงานให้ จากนั้นกรมแรงงานก็ยังต้องทำหนังสือแจ้งไปที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ตรวจสอบชื่อแรงงานดังกล่าว หากตรงกันให้ประทับตรากำกับว่าเข้ามาทำงาน เมื่อแรงงานเข้ามาถึงไทยแล้ว จะต้องตรวจร่างกาย อบรม และสามารถทำงานตามปกติได้

อัตราโทษสำหรับนายจ้างและแรงงานมีดังนี้

  1. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือ รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน

มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน

  1. นายจ้างใดให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน

  1. คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน หรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ

มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วนแต่ไม่แจ้งนายทะเบียน

มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท

  1. คนต่างด้าวทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

  1. ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงาน หรือเอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ

มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000-1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คนหรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. ผู้ใดประกอบธุรกิจนำคนต่างด้าวมาทำงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางาน

มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ที่มา : http://www.krudontee.com/th/site-map/articles/99-nanasara/192-labor.html